แนวคิด

                        โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์งานประติมากรรมเพื่อแสดงออกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของเมืองภูเก็ต เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม อารยธรรม ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ มาสร้างสรรค์เป็นงานประติมากรรม โดยการผสมผสานให้สอดคล้อง และเข้ากับสถานที่ติดตั้ง คือ สวนสาธารณะสะพานหิน เทศบาลเมืองนครภูเก็ต
                       ในการสร้างสรรค์ผลงานในโครงการนี้ได้ใช้รูปทรงของหอยเป็นส่วนหนึ่งในการคิดรูปทรง รูปแบบของงานประติมากรรมเพื่อติดตั้ง ณ สวนสาธารณะสะพานหิน เทศบาลเมืองนครภูเก็ต เพราะหอยมีรูปทรงที่สวยงาม หลากหลายรูปแบบ สีสัน และเปลือกหอยก็ยังมีความคงทน ซึ่งสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อาจเป็นของที่ระลึกหรือของสะสมก็ได้ เป็นสื่งที่มีค่าสำหรับผู้คนที่ชื่นชอบหรือหลงใหลในทะเล เป็นเหตุผลหนึ่งที่ได้นำรูปทรงที่มีความหมายและมีค่าต่อความรู้สึกเหล่านี้มาเป็นสื่อในการนำเสนอเพื่อเป็นการบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ และความงดงามของทะเลอันดามันที่มีอยู่จริงและในการสร้างสรรค์ผลงานช่วงพัฒนารูปแบบส่วนหนึ่งก็นำเอารูปทรงของเรือมาเป็นแรงบันดาลใจเพราะเรือเป็นพาหนะในการนำพาวัฒนธรรมความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ภูเก็ตทำให้ภูเก็ตกลายเป็นเมืองที่หลากหลายวัฒนธรรมจนเกิดสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ซึ่งในงานที่ออกแบบนี้ได้นำเอาลวดลายต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ตามอาคาร บ้านเรือนแบบชิโน-โปรตุกีสมาดัดแปลงให้เข้ากับรูปแบบงานเพื่อให้มีคุณค่าทางวัฒนธรรมของภูเก็ต

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : “อารยธรรมมีชีวิต 3”

เทคนิค :
ขนาด :

ชื่อภาพ : “อารยธรรมมีชีวิต 4”

เทคนิค :
ขนาด :

ชื่อภาพ : “อารยธรรมมีชีวิต 6”

เทคนิค :
ขนาด :